อาจจะกล่าวได้ว่าการทำบัญชีนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับบริษัททุกบริษัทเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่เปิดใหม่ก็อาจจะคิดว่าการสอบบัญชีไม่จำเป็นแต่อย่างไร แต่หากว่าคุณพิจารณาดูแล้ว คุณจะพบว่าการตรวจบัญชีคือสิ่งที่การทำบริษัทไม่ควรมองข้าม โดยเรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับการตรวจบัญชีไปพร้อมๆ กัน 

อะไรคือการตรวจบัญชี  

สำหรับการตรวจบัญชีหมายถึงการตรวจสอบสมุดบัญชี และเอกสารประกอบการลงบัญชีรวมไปถึงหลักฐานอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการใช้วิธีและการตรวจสอบของที่จำเป็น อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบวิชาชีพตรวจบัญชีนั้น จะมีการปฏิบัติตามแนวทางของวิชาชีพอื่นๆ ซึ่งก็จะมีการกำหนดเอาไว้เป็นมาตรฐานสำหรับที่คนตรวจบัญชีจะวินิจฉัย รวมไปถึง การแสดงความคิดเห็นต่องบการเงินที่จัดทำขึ้นของกิจการโดยที่ถูกต้องตามหลักการของการเงินให้เป็นไป โดยบัญชีที่รองรับหรือไม่รองรับเพียงพอ โดยงบการเงินได้มีการเปิดเผยเอาไว้เพื่อให้คนอ่านได้อ่านงบการเงินอย่างละเอียด และเพียงพอหรือไม่ อย่างไร 

ใครคือผู้ตรวจบัญชี 

สำหรับผู้ตรวจบัญชีนั้นก็จะมีชื่อเต็มว่าผู้ตรวจบัญชีได้รับอนุญาต โดยจะมีหน้าที่ในการตรวจสอบเกี่ยวกับงบการเงินตามมาตรฐานของการบัญชี โดยจะมีการแสดงความเห็นไปต่องบการเงินว่างบการเงินที่ทางบริษัทได้ทำขึ้นเป็นไปตามมาตรฐานรายงานหรือไม่ อย่างไร ซึ่งผู้ตรวจบัญชีก็จะไม่ใช่คนที่อยู่ในบริษัทแต่จะเป็นคนที่แต่งตั้งจากกรรมการผู้ถือหุ่น และเป็นบุคคลภายนอกสำหรับตรวจบัญชีเท่านั้น จึงจะดำเนินการตรวจบัญชีได้ 

ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นผู้ตรวจบัญชี  

สำหรับการเป็นผู้ตรวจบัญชี จำเป็นที่จะต้องได้รับการเข้าทดสอบของกรรมการ และตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจบัญชี โดยจะเป็นผู้กำกับดูแล การออกข้อบังคับหรือการวางเกณฑ์ต่างๆ สำหรับการคุมผู้ตรวจบัญชีหรือได้รับอนุญาต โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 

1.สำเร็จการศึกษาด้านบัญชี 

สำหรับสิ่งที่สำคัญมากที่สุดได้แก่คนที่มาตรวจบัญชีจะต้องสำเร็จการศึกษาทางด้านบัญชี หรือว่าประกาศทางบัญชีไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจบัญชีมาแล้ว นอกจากนี้จะต้องมีอายุครบ 20 ปีเสียก่อน อีกทั้งจะต้องมีสัญชาติไทย และกรณีที่สัญชาติต่างประเทศก็จะต้องมีการยินยอมให้บุคคลสัญญาติไทยเป็นผู้ตรวจบัญชีในประเทศนั้นๆ ได้ 

2.อยู่ในศีลธรรมอันดี 

คุณสมบัติต่อไปได้แก่การไม่ประพฤติตัวเป็นที่เสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือสติฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เป็นต้น 

และนี่ก็คือหนึ่งในคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นนักตรวจบัญชี จะดีกว่าหรือไม่หากเรานั้นจะเลือกมองหาคุณสมบัติดีๆ เพื่อลดความผิดพลาดในการทำบัญชีมากกว่าเดิม